วันอาทิตย์ที่ 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551
กิจกรรมพัฒนาทางภาษา
กิจกรรม; การเคลื่อนไหว
ประกอบคำบรรยาย
จำนวน; 2 คน
ชื่อ; ด.ญ. พลอยวรินทร์ กลิ่นฉาย อายุ 5 ขวบ
ชั้นอนุบาล 1/2
ชื่อ ด.ญ. นวลจันทร์ สุขสว่าง อายุ 5 ขวบ ชั้นอนุบาล 1/1
ชื่อกิจกรรม วิ่งวิ่ง หยุดหยุด
แนวคิด เราสามารถเคลื่อนไหวร่างกายโดยการวิ่งและหยุดได้ทันที
วัตถุประสงค์ - ฝึกทักษะการเคลื่อนไหวร่างกายด้วยการวิ่ง
- ฝึกทักษะการทำท่าตามคำบรรยาย
กิจกรรม 1.เด็กๆ วิ่งอิสระโดยไม่ให้โดนเพื่อน
2. เมื่อได้ยินสัญญาน "หยุด" ให้ปฎิบัติดังนี้
- เดินต่อเท้าถ้อยหลังให้เป็นเส้นตรงตามจังหวะที่ครูเคาะ
- กระโดดและชูมือทั้งสองให้สูงและเหวี่ยงไปมาหรือทำท่าทางสัตว์ต่างๆ
ตามจังหวะที่ครูเคาะ
3. แนะนำอาสาสมัครเป็นผู้นำในการทำท่าตามสัญาญ " หยุด"
สื่ออุปกรณ์ เครื่งเคาะจังหวะ
การประเมินผล สังเกตความสามารถในการวิ่งและหยุดเพื่อปฎิบัติตามคำบรรยาย
ข้อเสนอแนะ เปลี่ยนเป็นกระโดดสลับเท้าและยื่นบนกระดาษสี่เหลี่ยม
วิเคราะกิจกรรม ทักษะการควบคุม การเคลี่อนไหวโดยการวิ่ง การวิ่งต่อเท้า ถอยหลัง
กระโดดและชูมือ
ทักษะทางคณิตศาสตร์ คำศัพท์ " เส้นตรง " " สูง"
ทักษะการเคลี่อนไหว การชูมือไปมาตามจังหวะสม่ำเสมอ
วันพฤหัสบดีที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551
พัฒนาการทางภาษา (ลองอ่านดูนะ)
พัฒนาทางภาษาของเด็กปฐมวัย
พัฒนาการภาษาพูด มีลำดับขั้น ตั้งแต่วัยทารก จนสิ้นสุดระยะวัยเด็กตอนต้น ดังนี้ ขั้นที่ 1 ขั้นปฏิกิริยาสะท้อน (Reflexive Vocalization)การใช้ภาษาของเด็กในระยะนี้ คือ ตั้งแต่คลอดถึงอายุหนึ่งเดือนครึ่ง เป็นแบบปฏิกิริยาสะท้อนเทียบเท่ากับภาษาหรือการสื่อความหมายของสัตว์ประเภทอื่นๆ เสียงนี้เป็นไปโดยอัตโนมัติและไม่มีความหมายในขั้นแรก แต่เมื่ออายุราวหนึ่งเดือนล่วงแล้ว ทารกอาจเปล่งเสียงต่างกันได้ตามความรู้สึก เช่น ชอบ ไม่ชอบ ง่วง หิว ฯลฯ ขั้นที่ 2 ขั้นเล่นเสียง (Babbling Stage) อายุเฉลี่ยของทารกในขั้นนี้ ต่อจากขั้นที่ 1 จนถึงอายุราว 8 เดือน อวัยวะในการเปล่งเสียงและฟังของทารก เช่น ปาก ลิ้น หู เริ่มพัฒนามากขึ้น เป็นระยะที่ทารกได้ยินเสียงผู้อื่นและเสียงตนเอง สนุกและสนใจลองเล่นเสียง (Vocal Play) ที่ตนได้ยิน โดยเฉพาะเสียงของตนเอง แต่เสียงที่เด็กเปล่งก็ไม่มีความหมายในเชิงภาษา ระยะนี้ทารกทุกชาติทำเสียงเหมือนกันหมด แม้เสียงที่เด็กเปล่งยังคงไม่เป็นภาษา แต่ก็มีความสำคัญในกระบวนการพัฒนาการพูด เพราะเป็นระยะที่เด็กได้ลองทำเสียงต่างๆทุกชนิด เปรียบเสมือนการซ้อมเสียงซอของนักสีซอก่อนการเล่นซอที่แท้จริงขั้นที่ 3 ขั้นเลียนเสียง (Lalling Stage) ระยะนี้ทารกอายุประมาณ 9 เดือน เขาเริ่มสนุกที่จะเลียนเสียงผู้อื่น นอกจากเล่นเสียงของตนเอง ระยะนี้ประสาทรับฟังพัฒนามากยิ่งขึ้น จนสามารถจับเสียงผู้อื่นพูดได้ถี่ถ้วนยิ่งขึ้น ประสาทตาจับภาพการเคลื่อนไหวของริมฝีปากได้แล้ว จึงรู้จักและสนุกที่จะเลียนเสียงผู้อื่น ระยะนี้เขาเลียนเสียงของตัวเองน้อยลง การเลียนเสียงผู้อื่นยังผิดๆถูกๆและยังไม่สู้จะเข้าใจความหมายของเสียงที่เปล่งเลียนแบบผู้ใหญ่ เด็กหูหนวกไม่สามารถพัฒนาทางด้านภาษามาถึงขั้นนี้ ขั้นนี้เป็นระยะที่ทารกเริ่มพูดภาษาแม่ของตนขั้นที่ 4 ขั้นเลียนเสียงได้ถูกต้องยิ่งขึ้น (Echolalia)ระยะนี้ทารกอายุประมาณ 1 ขวบ ยังคงเลียนเสียงผู้ที่แวดล้อมเขา และทำได้ถูกต้องมากยิ่งขึ้น เลียนเสียงตัวเองน้อยลง แต่ยังรู้ความหมายของเสียงไม่แจ่มแจ้งนักขั้นที่ 5 ขั้นเห็นความหมายของเสียงที่เด็กเลียน (True Speech) ระยะนี้ทารกอายุตั้งแต่ 1 ขวบขึ้นไป ความจำ การใช้เหตุผล การเห็นความสัมพันธ์ของสิ่งที่ทารกได้รู้เห็นพัฒนาขึ้นแล้ว เช่น เมื่อเปล่งเสียง “แม่” ก็รู้ว่าคือ ผู้หญิงคนหนึ่งที่อุ้มชูดูแลตน การพัฒนามาถึงขั้นนี้เป็นไปอย่างบังเอิญ (ไม่ได้จงใจ) แต่ต่อมาจากการได้รับการตอบสนองที่พอใจและไม่พอใจ ทำให้การเรียนความสัมพันธ์ของเสียงและความหมายก้าวหน้าสืบไปในระยะแรก เด็กจะพูดคำเดียวก่อน ต่อมาจึงจะอยู่ในรูปวลีและรูปของประโยค ตั้งแต่ยังไม่ถูกต้องตามหลักไวยากรณ์ ไปจนถึงถูกหลักไวยากรณ์ของภาษานั้นๆ นักภาษาศาสตร์ได้ทำ การวิจัยทางเด็กที่พูดภาษาต่างๆทั่วโลก เห็นพ้องต้องกันว่า พัฒนาการทางภาษาตั้งแต่ขั้นที่หนึ่งถึงห้าข้างต้นอยู่ในระยะวัยทารก ส่วนระยะที่เด็กเข้าใจภาษาและใช้ภาษาได้อย่างอัตโนมัติเหมือนผู้ใหญ่นั้น อยู่ในระยะเด็กตอนต้นหรือช่วงปฐมวัยนั่นเอง ซึ่งพัฒนาการทางภาษาที่น่าสนใจก็คือ ความยาวของประโยค ยิ่งเด็กโตขึ้นก็จะยิ่งสามารถพูดได้ประโยคยาวขึ้น ซึ่งเป็นการบ่งบอกถึงความสามารถทางการใช้ภาษาของเด็กได้เป็นอย่างดีนอกจากนี้ หากจะพิจารณารูปแบบของพัฒนาการทางภาษาในรูปแบบเชิงพฤติกรรม สามารถอธิบายเกี่ยวกับพัฒนาการทางภาษาของเด็กปฐมวัยแบ่งออกได้เป็น 7 ระยะ ดังนี้ คือ1. ระยะเปะปะ (Random Stage) อายุตั้งแต่แรกเกิดถึง 6 เดือน ในระยะนี้พบว่าเด็กมีการเปล่งเสียงอย่างไม่มีความหมาย2. ระยะแยกแยะ (Jergon Stage) อายุ 6 เดือน ถึง 1 ปี ในระยะนี้เด็กจะเริ่มแยกแยะเสียงที่เขาได้ยินในสภาพแวดล้อมและแสดงอาการจดจำเสียงที่ได้ยินได้ เด็กจะรู้สึกพอใจถ้าหากเปล่งเสียงแล้วได้รับการตอบสนองทางบวก3. ระยะเลียนแบบ (Imitation Stage) อายุ 1 ถึง 2 ปี เด็กวัยนี้สนใจและเริ่มเลียนแบบ เสียงของเด็กที่เปล่งจะเริ่มมีความหมายและแสดงกิริยาตอบสนองการได้ยินเสียงของผู้อื่น4. ระยะขยาย (The Stage of Expansion) อายุ 2 ถึง 4 ปี เด็กวัยนี้จะเริ่มหัดพูดเป็นคำๆ ระยะแรกจะเป็นการพูดโดยเรียกชื่อคำนาม เรียกชื่อคนที่อยู่รอบข้าง สิ่งของต่างๆที่อยู่รอบตัว รวมทั้งคำคุณศัพท์ที่เด็กได้ยินผู้ใหญ่พูดกัน5. ระยะโครงสร้าง (Structure Stage) อายุ 4 ถึง 5 ปี การรับรู้และการสังเกตของเด็กวัยนี้ดีขึ้นมาก ทำให้เด็กได้สังเกตการณ์ใช้ภาษาของบุคคลที่อยู่รอบข้าง และนำมาทดลองใช้ประสบการณ์ที่เด็กได้รับ เช่น การฟังนิทาน ดูรายการโทรทัศน์ เป็นต้น6. ระยะตอบสนอง (Responding Stage) อายุ 5 ถึง 6 ปี พัฒนาการทางภาษาของเด็กวัยนี้จะเริ่มสูงขึ้น เพราะเด็กจะเริ่มเข้าเรียนในโรงเรียนอนุบาล เด็กได้พัฒนาคำศัพท์เพิ่มขึ้น รู้จักการใช้ประโยคอย่างเป็นระบบตามหลักไวยากรณ์ การใช้ภาษามีแบบแผนมากขึ้น7. ระยะสร้างสรรค์ (Creative Stage) อายุตั้งแต่ 6 ปีขึ้นไป เด็กจะพัฒนาความสามารถทางภาษาได้สูงขึ้น สามารถจดจำสัญลักษณ์ทางภาษาได้มากขึ้น สำหรับด้านการพูด สามารถใช้ถ้อยคำที่เป็นสำนวน หรือคำที่มีความหมายลึกซึ้งได้ระยะของพัฒนาการทางภาษาแสดงให้เห็นว่า ก่อนที่เด็กจะสามารถพูดคำแรกออกมา เช่น “แม่” “ป้อ” ฯ จนกระทั่งสามารถพูดเป็นประโยคได้นั้น เด็กต้องผ่านกระบวนการสำคัญของพัฒนาการหลายขั้นตอน ทักษะทางภาษาขั้นแรกของเด็ก คือ การร้องไห้ แม้ว่าระยะแรกเด็กจะยังไม่สามารถพูดได้ แต่ไม่ใช่ว่าจะเป็นช่วงเวลาของการสูญเปล่า แต่เด็กกำลังฝึกการควบคุมกล้ามเนื้อปากและลิ้นให้ทำงานประสานกัน สังเกตเห็นได้จากทารกแบเบาะจะอ้าปาก ขยับปากบ่อยครั้ง รวมถึงแลบลิ้น เพื่อเตรียมความพร้อมสำหรับการพูดในอนาคต ทักษะสำคัญอย่างหนึ่งของเด็กก่อนการพูด คือ การมีปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น ซึ่งกระบวนการนี้ เด็กเรียนรู้ตั้งแต่ช่วงแรกๆของชีวิต และเมื่อเด็กอายุประมาณ 3 เดือน เด็กก็สามารถใช้ภาษาท่าทางในการสื่อสารกับบุคคลอื่นได้ โดยอาจใช้วิธีการทำเสียงต่างๆประกอบ จากนั้นเมื่อเด็กโตขึ้น พัฒนาการทางด้านภาษาของเด็กก็จะเพิ่มมากขึ้น ทั้งในด้านการพูด การเรียนรู้คำศัพท์ เป็นต้น
วิจัยการจัดประสบการการเรียนรู้
วิจัยการจัดประสบการณ์สำหรับเด็กปฐมวัย
มาดูงานวิจัยกันเลยนะ
การศึกษาการจัดประสบการณ์การเรียนรู้เด็กปฐมวัยของครูพี่เลี้ยงศูนย์อบรมเด็กก่อนเกณฑ์ในวัด จังหวัดศรีษะเกษ
Title AlternativeA Study Organization of Pre-School Children Learning Experiences of Caregivers in Monasteriesin Srisaket
มาดูงานวิจัยกันเลยนะ
การศึกษาการจัดประสบการณ์การเรียนรู้เด็กปฐมวัยของครูพี่เลี้ยงศูนย์อบรมเด็กก่อนเกณฑ์ในวัด จังหวัดศรีษะเกษ
Title AlternativeA Study Organization of Pre-School Children Learning Experiences of Caregivers in Monasteriesin Srisaket
ผู่แต่ง : Name: พระมหาพงศ์พิสิฏฐ์ สุเมโธ สมทอง
การศึกษาปฐมวัย
Classification :.DDC: 372.21
Description
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเปรียบเทียบการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ เด็กปฐมวัยของครูพี่เลี้ยงศูนย์อบรมเด็กก่อนเกณฑ์ในวัด จังหวัดศรีสะเกษ จำแนกตามระดับการศึกษา ประสบการณ์การสอน ประสบการณ์การผ่านการอบรมเชิงปฏิบัติการ และอายุ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยคือ ครูพี่เลี้ยงในศูนย์อบรมเด็กก่อนเกณฑ์ในวัด จังหวัดศรีสะเกษ ปีการศึกษา 2548 จำนวน 249 คน ได้มาโดยการสุ่มแบบหลายขั้นตอน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบค่าที (t-test) ผลการศึกษาพบว่า 1. การจัดประสบการณ์การเรียนรู้เด็กปฐมวัยของครูพี่เลี้ยงศูนย์อบรมเด็กก่อนเกณฑ์ ในวัด จังหวัดศรีสะเกษ โดยรวมพบว่า อยู่ในระดับปานกลาง กิจกรรมที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด คือ กิจกรรมกลางแจ้ง ส่วนกิจกรรมเกมการศึกษาอยู่ในอันดับน้อยที่สุด เมื่อพิจารณาเป็นรายกิจกรรมพบว่า 1.1 กิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ พบว่า อยู่ในระดับมาก 4 ข้อ ระดับปานกลาง 4 ข้อ โดยการจัดกิจกรรมให้เด็กได้เคลื่อนไหวร่างกาย ประกอบเพลง หรือคำคล้องจอง อยู่ในอันดับสูงที่สุด ส่วนการจัดกิจกรรมที่เปิดโอกาสให้เด็กคิดหาวิธีเคลื่อนไหวทั้งที่ต้องเคลื่อนที่และไม่ต้องเคลื่อนที่เป็นรายบุคคล เป็นคู่ หรือเป็นกลุ่ม อยู่ในอันดับสุดท้าย 1.2 กิจกรรมสร้างสรรค์ พบว่า อยู่ในระดับมาก 3 ข้อ ระดับปานกลาง 5 ข้อ โดยการจัดกิจกรรมให้เด็กได้วาดภาพสร้างสรรค์ตัวต่อต่างๆ อยู่ในอันดับสูงที่สุด ส่วนการจัดกิจกรรมให้เด็กได้ประดิษฐ์ผลงานทางศิลปะโดยใช้วัสดุที่มีอยู่ในท้องถิ่น อยู่ในอันดับสุดท้าย 1.3 กิจกรรมเสรี พบว่า อยู่ในระดับมาก 2 ข้อ ระดับปานกลาง 5 ข้อ โดยการจัดเวลาให้เด็กได้เล่นกิจกรรมที่ประกอบไปด้วยแท่งไม้ที่มีขนาดและรูปทรงต่างๆ อยู่ในอันดับสูงที่สุด ส่วนการจัดเวลาให้เด็กได้เล่นเกี่ยวกับมุมร้านค้าเพื่อให้เด็กได้เล่นซื้อขายสิ่งของต่างๆ อยู่ในอันดับสุดท้าย 1.4 กิจกรรมเสริมประสบการณ์ พบว่า อยู่ในระดับมาก 2 ข้อ ปานกลาง 4 ข้อ และน้อยหรือไม่ได้จัด 1 ข้อ โดยการจัดกิจกรรมให้เด็กได้แสดงออกเพื่อความสนุกสนานเพลิดเพลิน ด้วยการร้องเพลงเล่นเกมท่องคำคล้องจอง อยู่ในอันดับสูงที่สุด ส่วนการเชิญวิทยากรในท้องถิ่นมาให้ความรู้โดยการเล่านิทานแทนผู้สอน เช่น ผู้สูงอายุ หรือพ่อแม่ ทหาร ตำรวจ หมอ เป็นต้น อยู่ในอันดับสุดท้าย 1.5 กิจกรรมกลางแจ้ง พบว่า อยู่ในระดับมาก 6 ข้อ ปานกลาง 3 ข้อ โดยจัดเวลาให้เด็กได้เล่นอย่างอิสระ ตามจินตนาการและความต้องการของเด็ก อยู่ในอันดับสูงที่สุด ส่วนการจัดกิจกรรมบ้านจำลองสำหรับเด็ก ที่ทำด้วยเศษวัสดุประเภทผ้าใบ กระสอบป่านให้เด็กได้เล่นบทบาทสมมุติตามจินตนาการของเด็ก อยู่ในอันดับสุดท้าย 1.6 กิจกรรมเกมการศึกษา พบว่า อยู่ในระดับปานกลางทุกข้อ โดยการจัดกิจกรรมให้เด็กเกิดความคิดรวบยอดเกี่ยวกับสี เช่น เกมจับคู่ภาพที่มีสีต่างกันอยู่ในอันดับสูงที่สุด ส่วนการจัดกิจกรรมให้เด็กเกิดความคิดรวบยอดเกี่ยวกับความสัมพันธ์ของพื้นที่ เช่น เกมตารางสัมพันธ์ (เมตริกเกม) เกมอุปมาอุปไมย เกมหาความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งของเครื่องใช้ อยู่ในอันดับสุดท้าย 2. ครูพี่เลี้ยงที่มีระดับการศึกษาต่างกัน มีการจัดประสบการณ์การเรียนรู้เด็กปฐมวัย แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 จำนวน 5 กิจกรรมคือ กิจกรรมสร้างสรรค์ กิจกรรมเสรี กิจกรรมเสริมประสบการณ์ กิจกรรมกลางแจ้ง และกิจกรรมเกมการศึกษา โดย ครูพี่เลี้ยงที่มีระดับการศึกษาต่ำกว่าปริญญาตรีจัดประสบการณ์การเรียนรู้เด็กปฐมวัยน้อยกว่า ครูพี่เลี้ยงที่มีระดับการศึกษาระดับปริญญาตรี 3. ครูพี่เลี้ยงที่มีประสบการณ์การสอนต่างกัน มีการจัดประสบการณ์การเรียนรู้เด็กปฐมวัย ไม่แตกต่างกันเมื่อกำหนดนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ยกเว้นบางกิจกรรมคือ กิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยครูพี่เลี้ยงที่มีประสบการณ์การสอนตั้งแต่ 1-5 ปี มีการจัดประสบการณ์การเรียนรู้เด็กปฐมวัยมากกว่า ครูพี่เลี้ยงที่มีประสบการณ์การสอนมากกว่า 5 ปีขึ้นไป 4. ครูพี่เลี้ยงที่มีประสบการณ์การผ่านการอบรมเชิงปฏิบัติการ 1-3 ครั้ง และครูพี่เลี้ยงที่มีประสบการณ์การผ่านการอบรมเชิงปฏิบัติการมากกว่า 3 ครั้งขึ้นไป มีการจัดประสบการณ์การเรียนรู้เด็กปฐมวัยไม่แตกต่างกันเมื่อกำหนดนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 5. ครูพี่เลี้ยงที่มีอายุต่ำกว่า 35 ปี และครูพี่เลี้ยงที่มีอายุมากกว่า 35 ปีขึ้นไป มีการจัดประสบการณ์การเรียนรู้เด็กปฐมวัยไม่แตกต่างกันเมื่อกำหนดนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ยกเว้นบางกิจกรรมคือ กิจกรรมเกมการศึกษา แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยครูพี่เลี้ยงที่มีอายุต่ำกว่า 35 ปี มีการจัดประสบการณ์การเรียนรู้เด็กปฐมวัยมากกว่า ครูพี่เลี้ยง ที่มีอายุ 35 ปีขึ้นไป สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ
Address: มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา
Email: si_num42@hotmail.com
linkset3[12]='สืบค้นต่อในกลุ่ม Contributor'
linkset3[12]+='สืบค้นต่อในทุกเขตข้อมูล'
Contributor
Name: สมบูรณ์ ตันยะ
Name: บูรี แดงสูงเนิน
วันพุธที่ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)