วันพฤหัสบดีที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551

วิจัยการจัดประสบการการเรียนรู้




วิจัยการจัดประสบการณ์สำหรับเด็กปฐมวัย
มาดูงานวิจัยกันเลยนะ
การศึกษาการจัดประสบการณ์การเรียนรู้เด็กปฐมวัยของครูพี่เลี้ยงศูนย์อบรมเด็กก่อนเกณฑ์ในวัด จังหวัดศรีษะเกษ
Title AlternativeA Study Organization of Pre-School Children Learning Experiences of Caregivers in Monasteriesin Srisaket

ผู่แต่ง : Name: พระมหาพงศ์พิสิฏฐ์ สุเมโธ สมทอง

การศึกษาปฐมวัย
Classification :.DDC: 372.21
Description
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเปรียบเทียบการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ เด็กปฐมวัยของครูพี่เลี้ยงศูนย์อบรมเด็กก่อนเกณฑ์ในวัด จังหวัดศรีสะเกษ จำแนกตามระดับการศึกษา ประสบการณ์การสอน ประสบการณ์การผ่านการอบรมเชิงปฏิบัติการ และอายุ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยคือ ครูพี่เลี้ยงในศูนย์อบรมเด็กก่อนเกณฑ์ในวัด จังหวัดศรีสะเกษ ปีการศึกษา 2548 จำนวน 249 คน ได้มาโดยการสุ่มแบบหลายขั้นตอน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบค่าที (t-test) ผลการศึกษาพบว่า 1. การจัดประสบการณ์การเรียนรู้เด็กปฐมวัยของครูพี่เลี้ยงศูนย์อบรมเด็กก่อนเกณฑ์ ในวัด จังหวัดศรีสะเกษ โดยรวมพบว่า อยู่ในระดับปานกลาง กิจกรรมที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด คือ กิจกรรมกลางแจ้ง ส่วนกิจกรรมเกมการศึกษาอยู่ในอันดับน้อยที่สุด เมื่อพิจารณาเป็นรายกิจกรรมพบว่า 1.1 กิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ พบว่า อยู่ในระดับมาก 4 ข้อ ระดับปานกลาง 4 ข้อ โดยการจัดกิจกรรมให้เด็กได้เคลื่อนไหวร่างกาย ประกอบเพลง หรือคำคล้องจอง อยู่ในอันดับสูงที่สุด ส่วนการจัดกิจกรรมที่เปิดโอกาสให้เด็กคิดหาวิธีเคลื่อนไหวทั้งที่ต้องเคลื่อนที่และไม่ต้องเคลื่อนที่เป็นรายบุคคล เป็นคู่ หรือเป็นกลุ่ม อยู่ในอันดับสุดท้าย 1.2 กิจกรรมสร้างสรรค์ พบว่า อยู่ในระดับมาก 3 ข้อ ระดับปานกลาง 5 ข้อ โดยการจัดกิจกรรมให้เด็กได้วาดภาพสร้างสรรค์ตัวต่อต่างๆ อยู่ในอันดับสูงที่สุด ส่วนการจัดกิจกรรมให้เด็กได้ประดิษฐ์ผลงานทางศิลปะโดยใช้วัสดุที่มีอยู่ในท้องถิ่น อยู่ในอันดับสุดท้าย 1.3 กิจกรรมเสรี พบว่า อยู่ในระดับมาก 2 ข้อ ระดับปานกลาง 5 ข้อ โดยการจัดเวลาให้เด็กได้เล่นกิจกรรมที่ประกอบไปด้วยแท่งไม้ที่มีขนาดและรูปทรงต่างๆ อยู่ในอันดับสูงที่สุด ส่วนการจัดเวลาให้เด็กได้เล่นเกี่ยวกับมุมร้านค้าเพื่อให้เด็กได้เล่นซื้อขายสิ่งของต่างๆ อยู่ในอันดับสุดท้าย 1.4 กิจกรรมเสริมประสบการณ์ พบว่า อยู่ในระดับมาก 2 ข้อ ปานกลาง 4 ข้อ และน้อยหรือไม่ได้จัด 1 ข้อ โดยการจัดกิจกรรมให้เด็กได้แสดงออกเพื่อความสนุกสนานเพลิดเพลิน ด้วยการร้องเพลงเล่นเกมท่องคำคล้องจอง อยู่ในอันดับสูงที่สุด ส่วนการเชิญวิทยากรในท้องถิ่นมาให้ความรู้โดยการเล่านิทานแทนผู้สอน เช่น ผู้สูงอายุ หรือพ่อแม่ ทหาร ตำรวจ หมอ เป็นต้น อยู่ในอันดับสุดท้าย 1.5 กิจกรรมกลางแจ้ง พบว่า อยู่ในระดับมาก 6 ข้อ ปานกลาง 3 ข้อ โดยจัดเวลาให้เด็กได้เล่นอย่างอิสระ ตามจินตนาการและความต้องการของเด็ก อยู่ในอันดับสูงที่สุด ส่วนการจัดกิจกรรมบ้านจำลองสำหรับเด็ก ที่ทำด้วยเศษวัสดุประเภทผ้าใบ กระสอบป่านให้เด็กได้เล่นบทบาทสมมุติตามจินตนาการของเด็ก อยู่ในอันดับสุดท้าย 1.6 กิจกรรมเกมการศึกษา พบว่า อยู่ในระดับปานกลางทุกข้อ โดยการจัดกิจกรรมให้เด็กเกิดความคิดรวบยอดเกี่ยวกับสี เช่น เกมจับคู่ภาพที่มีสีต่างกันอยู่ในอันดับสูงที่สุด ส่วนการจัดกิจกรรมให้เด็กเกิดความคิดรวบยอดเกี่ยวกับความสัมพันธ์ของพื้นที่ เช่น เกมตารางสัมพันธ์ (เมตริกเกม) เกมอุปมาอุปไมย เกมหาความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งของเครื่องใช้ อยู่ในอันดับสุดท้าย 2. ครูพี่เลี้ยงที่มีระดับการศึกษาต่างกัน มีการจัดประสบการณ์การเรียนรู้เด็กปฐมวัย แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 จำนวน 5 กิจกรรมคือ กิจกรรมสร้างสรรค์ กิจกรรมเสรี กิจกรรมเสริมประสบการณ์ กิจกรรมกลางแจ้ง และกิจกรรมเกมการศึกษา โดย ครูพี่เลี้ยงที่มีระดับการศึกษาต่ำกว่าปริญญาตรีจัดประสบการณ์การเรียนรู้เด็กปฐมวัยน้อยกว่า ครูพี่เลี้ยงที่มีระดับการศึกษาระดับปริญญาตรี 3. ครูพี่เลี้ยงที่มีประสบการณ์การสอนต่างกัน มีการจัดประสบการณ์การเรียนรู้เด็กปฐมวัย ไม่แตกต่างกันเมื่อกำหนดนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ยกเว้นบางกิจกรรมคือ กิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยครูพี่เลี้ยงที่มีประสบการณ์การสอนตั้งแต่ 1-5 ปี มีการจัดประสบการณ์การเรียนรู้เด็กปฐมวัยมากกว่า ครูพี่เลี้ยงที่มีประสบการณ์การสอนมากกว่า 5 ปีขึ้นไป 4. ครูพี่เลี้ยงที่มีประสบการณ์การผ่านการอบรมเชิงปฏิบัติการ 1-3 ครั้ง และครูพี่เลี้ยงที่มีประสบการณ์การผ่านการอบรมเชิงปฏิบัติการมากกว่า 3 ครั้งขึ้นไป มีการจัดประสบการณ์การเรียนรู้เด็กปฐมวัยไม่แตกต่างกันเมื่อกำหนดนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 5. ครูพี่เลี้ยงที่มีอายุต่ำกว่า 35 ปี และครูพี่เลี้ยงที่มีอายุมากกว่า 35 ปีขึ้นไป มีการจัดประสบการณ์การเรียนรู้เด็กปฐมวัยไม่แตกต่างกันเมื่อกำหนดนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ยกเว้นบางกิจกรรมคือ กิจกรรมเกมการศึกษา แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยครูพี่เลี้ยงที่มีอายุต่ำกว่า 35 ปี มีการจัดประสบการณ์การเรียนรู้เด็กปฐมวัยมากกว่า ครูพี่เลี้ยง ที่มีอายุ 35 ปีขึ้นไป สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ
Address: มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา
Email: si_num42@hotmail.com
linkset3[12]='สืบค้นต่อในกลุ่ม Contributor'
linkset3[12]+='สืบค้นต่อในทุกเขตข้อมูล'
Contributor
Name: สมบูรณ์ ตันยะ
Name: บูรี แดงสูงเนิน

ไม่มีความคิดเห็น: