พัฒนาการทางภาษา มี 3 ขั้น
1 ขั้นปฏิกิริยาสะท้อน (Reflexive Vocalization)
2 ขั้นเล่นเสียง (Babbling Stage)
ขั้นที่ 3 ขั้นเลียนเสียง (Lalling Stage)
(อ่านต่อด้านล่าง)
วันอาทิตย์ที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2551
เกร็ดคติ
เด็กเอ๋ยเด็กน้อยความรู้เรายังด้อยเด่งศึกษา
เมื่อเติบใหญ่จะได้มีวิชาเป็นเครื่องหาเลี้ยงชีพ
สำหรับตนได้ประโยช์หลายสถานเพราะการเรียน
จงพรากเพียนไปเถอะจะเกิดผลถึงลำบากตากตำก็จำทน
เกิดเป็นคนควรหมั่นขยันเอ่ย
เมื่อเติบใหญ่จะได้มีวิชาเป็นเครื่องหาเลี้ยงชีพ
สำหรับตนได้ประโยช์หลายสถานเพราะการเรียน
จงพรากเพียนไปเถอะจะเกิดผลถึงลำบากตากตำก็จำทน
เกิดเป็นคนควรหมั่นขยันเอ่ย
วันอาทิตย์ที่ 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551
กิจกรรมพัฒนาทางภาษา
กิจกรรม; การเคลื่อนไหว
ประกอบคำบรรยาย
จำนวน; 2 คน
ชื่อ; ด.ญ. พลอยวรินทร์ กลิ่นฉาย อายุ 5 ขวบ
ชั้นอนุบาล 1/2
ชื่อ ด.ญ. นวลจันทร์ สุขสว่าง อายุ 5 ขวบ ชั้นอนุบาล 1/1
ชื่อกิจกรรม วิ่งวิ่ง หยุดหยุด
แนวคิด เราสามารถเคลื่อนไหวร่างกายโดยการวิ่งและหยุดได้ทันที
วัตถุประสงค์ - ฝึกทักษะการเคลื่อนไหวร่างกายด้วยการวิ่ง
- ฝึกทักษะการทำท่าตามคำบรรยาย
กิจกรรม 1.เด็กๆ วิ่งอิสระโดยไม่ให้โดนเพื่อน
2. เมื่อได้ยินสัญญาน "หยุด" ให้ปฎิบัติดังนี้
- เดินต่อเท้าถ้อยหลังให้เป็นเส้นตรงตามจังหวะที่ครูเคาะ
- กระโดดและชูมือทั้งสองให้สูงและเหวี่ยงไปมาหรือทำท่าทางสัตว์ต่างๆ
ตามจังหวะที่ครูเคาะ
3. แนะนำอาสาสมัครเป็นผู้นำในการทำท่าตามสัญาญ " หยุด"
สื่ออุปกรณ์ เครื่งเคาะจังหวะ
การประเมินผล สังเกตความสามารถในการวิ่งและหยุดเพื่อปฎิบัติตามคำบรรยาย
ข้อเสนอแนะ เปลี่ยนเป็นกระโดดสลับเท้าและยื่นบนกระดาษสี่เหลี่ยม
วิเคราะกิจกรรม ทักษะการควบคุม การเคลี่อนไหวโดยการวิ่ง การวิ่งต่อเท้า ถอยหลัง
กระโดดและชูมือ
ทักษะทางคณิตศาสตร์ คำศัพท์ " เส้นตรง " " สูง"
ทักษะการเคลี่อนไหว การชูมือไปมาตามจังหวะสม่ำเสมอ
วันพฤหัสบดีที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551
พัฒนาการทางภาษา (ลองอ่านดูนะ)
พัฒนาทางภาษาของเด็กปฐมวัย
พัฒนาการภาษาพูด มีลำดับขั้น ตั้งแต่วัยทารก จนสิ้นสุดระยะวัยเด็กตอนต้น ดังนี้ ขั้นที่ 1 ขั้นปฏิกิริยาสะท้อน (Reflexive Vocalization)การใช้ภาษาของเด็กในระยะนี้ คือ ตั้งแต่คลอดถึงอายุหนึ่งเดือนครึ่ง เป็นแบบปฏิกิริยาสะท้อนเทียบเท่ากับภาษาหรือการสื่อความหมายของสัตว์ประเภทอื่นๆ เสียงนี้เป็นไปโดยอัตโนมัติและไม่มีความหมายในขั้นแรก แต่เมื่ออายุราวหนึ่งเดือนล่วงแล้ว ทารกอาจเปล่งเสียงต่างกันได้ตามความรู้สึก เช่น ชอบ ไม่ชอบ ง่วง หิว ฯลฯ ขั้นที่ 2 ขั้นเล่นเสียง (Babbling Stage) อายุเฉลี่ยของทารกในขั้นนี้ ต่อจากขั้นที่ 1 จนถึงอายุราว 8 เดือน อวัยวะในการเปล่งเสียงและฟังของทารก เช่น ปาก ลิ้น หู เริ่มพัฒนามากขึ้น เป็นระยะที่ทารกได้ยินเสียงผู้อื่นและเสียงตนเอง สนุกและสนใจลองเล่นเสียง (Vocal Play) ที่ตนได้ยิน โดยเฉพาะเสียงของตนเอง แต่เสียงที่เด็กเปล่งก็ไม่มีความหมายในเชิงภาษา ระยะนี้ทารกทุกชาติทำเสียงเหมือนกันหมด แม้เสียงที่เด็กเปล่งยังคงไม่เป็นภาษา แต่ก็มีความสำคัญในกระบวนการพัฒนาการพูด เพราะเป็นระยะที่เด็กได้ลองทำเสียงต่างๆทุกชนิด เปรียบเสมือนการซ้อมเสียงซอของนักสีซอก่อนการเล่นซอที่แท้จริงขั้นที่ 3 ขั้นเลียนเสียง (Lalling Stage) ระยะนี้ทารกอายุประมาณ 9 เดือน เขาเริ่มสนุกที่จะเลียนเสียงผู้อื่น นอกจากเล่นเสียงของตนเอง ระยะนี้ประสาทรับฟังพัฒนามากยิ่งขึ้น จนสามารถจับเสียงผู้อื่นพูดได้ถี่ถ้วนยิ่งขึ้น ประสาทตาจับภาพการเคลื่อนไหวของริมฝีปากได้แล้ว จึงรู้จักและสนุกที่จะเลียนเสียงผู้อื่น ระยะนี้เขาเลียนเสียงของตัวเองน้อยลง การเลียนเสียงผู้อื่นยังผิดๆถูกๆและยังไม่สู้จะเข้าใจความหมายของเสียงที่เปล่งเลียนแบบผู้ใหญ่ เด็กหูหนวกไม่สามารถพัฒนาทางด้านภาษามาถึงขั้นนี้ ขั้นนี้เป็นระยะที่ทารกเริ่มพูดภาษาแม่ของตนขั้นที่ 4 ขั้นเลียนเสียงได้ถูกต้องยิ่งขึ้น (Echolalia)ระยะนี้ทารกอายุประมาณ 1 ขวบ ยังคงเลียนเสียงผู้ที่แวดล้อมเขา และทำได้ถูกต้องมากยิ่งขึ้น เลียนเสียงตัวเองน้อยลง แต่ยังรู้ความหมายของเสียงไม่แจ่มแจ้งนักขั้นที่ 5 ขั้นเห็นความหมายของเสียงที่เด็กเลียน (True Speech) ระยะนี้ทารกอายุตั้งแต่ 1 ขวบขึ้นไป ความจำ การใช้เหตุผล การเห็นความสัมพันธ์ของสิ่งที่ทารกได้รู้เห็นพัฒนาขึ้นแล้ว เช่น เมื่อเปล่งเสียง “แม่” ก็รู้ว่าคือ ผู้หญิงคนหนึ่งที่อุ้มชูดูแลตน การพัฒนามาถึงขั้นนี้เป็นไปอย่างบังเอิญ (ไม่ได้จงใจ) แต่ต่อมาจากการได้รับการตอบสนองที่พอใจและไม่พอใจ ทำให้การเรียนความสัมพันธ์ของเสียงและความหมายก้าวหน้าสืบไปในระยะแรก เด็กจะพูดคำเดียวก่อน ต่อมาจึงจะอยู่ในรูปวลีและรูปของประโยค ตั้งแต่ยังไม่ถูกต้องตามหลักไวยากรณ์ ไปจนถึงถูกหลักไวยากรณ์ของภาษานั้นๆ นักภาษาศาสตร์ได้ทำ การวิจัยทางเด็กที่พูดภาษาต่างๆทั่วโลก เห็นพ้องต้องกันว่า พัฒนาการทางภาษาตั้งแต่ขั้นที่หนึ่งถึงห้าข้างต้นอยู่ในระยะวัยทารก ส่วนระยะที่เด็กเข้าใจภาษาและใช้ภาษาได้อย่างอัตโนมัติเหมือนผู้ใหญ่นั้น อยู่ในระยะเด็กตอนต้นหรือช่วงปฐมวัยนั่นเอง ซึ่งพัฒนาการทางภาษาที่น่าสนใจก็คือ ความยาวของประโยค ยิ่งเด็กโตขึ้นก็จะยิ่งสามารถพูดได้ประโยคยาวขึ้น ซึ่งเป็นการบ่งบอกถึงความสามารถทางการใช้ภาษาของเด็กได้เป็นอย่างดีนอกจากนี้ หากจะพิจารณารูปแบบของพัฒนาการทางภาษาในรูปแบบเชิงพฤติกรรม สามารถอธิบายเกี่ยวกับพัฒนาการทางภาษาของเด็กปฐมวัยแบ่งออกได้เป็น 7 ระยะ ดังนี้ คือ1. ระยะเปะปะ (Random Stage) อายุตั้งแต่แรกเกิดถึง 6 เดือน ในระยะนี้พบว่าเด็กมีการเปล่งเสียงอย่างไม่มีความหมาย2. ระยะแยกแยะ (Jergon Stage) อายุ 6 เดือน ถึง 1 ปี ในระยะนี้เด็กจะเริ่มแยกแยะเสียงที่เขาได้ยินในสภาพแวดล้อมและแสดงอาการจดจำเสียงที่ได้ยินได้ เด็กจะรู้สึกพอใจถ้าหากเปล่งเสียงแล้วได้รับการตอบสนองทางบวก3. ระยะเลียนแบบ (Imitation Stage) อายุ 1 ถึง 2 ปี เด็กวัยนี้สนใจและเริ่มเลียนแบบ เสียงของเด็กที่เปล่งจะเริ่มมีความหมายและแสดงกิริยาตอบสนองการได้ยินเสียงของผู้อื่น4. ระยะขยาย (The Stage of Expansion) อายุ 2 ถึง 4 ปี เด็กวัยนี้จะเริ่มหัดพูดเป็นคำๆ ระยะแรกจะเป็นการพูดโดยเรียกชื่อคำนาม เรียกชื่อคนที่อยู่รอบข้าง สิ่งของต่างๆที่อยู่รอบตัว รวมทั้งคำคุณศัพท์ที่เด็กได้ยินผู้ใหญ่พูดกัน5. ระยะโครงสร้าง (Structure Stage) อายุ 4 ถึง 5 ปี การรับรู้และการสังเกตของเด็กวัยนี้ดีขึ้นมาก ทำให้เด็กได้สังเกตการณ์ใช้ภาษาของบุคคลที่อยู่รอบข้าง และนำมาทดลองใช้ประสบการณ์ที่เด็กได้รับ เช่น การฟังนิทาน ดูรายการโทรทัศน์ เป็นต้น6. ระยะตอบสนอง (Responding Stage) อายุ 5 ถึง 6 ปี พัฒนาการทางภาษาของเด็กวัยนี้จะเริ่มสูงขึ้น เพราะเด็กจะเริ่มเข้าเรียนในโรงเรียนอนุบาล เด็กได้พัฒนาคำศัพท์เพิ่มขึ้น รู้จักการใช้ประโยคอย่างเป็นระบบตามหลักไวยากรณ์ การใช้ภาษามีแบบแผนมากขึ้น7. ระยะสร้างสรรค์ (Creative Stage) อายุตั้งแต่ 6 ปีขึ้นไป เด็กจะพัฒนาความสามารถทางภาษาได้สูงขึ้น สามารถจดจำสัญลักษณ์ทางภาษาได้มากขึ้น สำหรับด้านการพูด สามารถใช้ถ้อยคำที่เป็นสำนวน หรือคำที่มีความหมายลึกซึ้งได้ระยะของพัฒนาการทางภาษาแสดงให้เห็นว่า ก่อนที่เด็กจะสามารถพูดคำแรกออกมา เช่น “แม่” “ป้อ” ฯ จนกระทั่งสามารถพูดเป็นประโยคได้นั้น เด็กต้องผ่านกระบวนการสำคัญของพัฒนาการหลายขั้นตอน ทักษะทางภาษาขั้นแรกของเด็ก คือ การร้องไห้ แม้ว่าระยะแรกเด็กจะยังไม่สามารถพูดได้ แต่ไม่ใช่ว่าจะเป็นช่วงเวลาของการสูญเปล่า แต่เด็กกำลังฝึกการควบคุมกล้ามเนื้อปากและลิ้นให้ทำงานประสานกัน สังเกตเห็นได้จากทารกแบเบาะจะอ้าปาก ขยับปากบ่อยครั้ง รวมถึงแลบลิ้น เพื่อเตรียมความพร้อมสำหรับการพูดในอนาคต ทักษะสำคัญอย่างหนึ่งของเด็กก่อนการพูด คือ การมีปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น ซึ่งกระบวนการนี้ เด็กเรียนรู้ตั้งแต่ช่วงแรกๆของชีวิต และเมื่อเด็กอายุประมาณ 3 เดือน เด็กก็สามารถใช้ภาษาท่าทางในการสื่อสารกับบุคคลอื่นได้ โดยอาจใช้วิธีการทำเสียงต่างๆประกอบ จากนั้นเมื่อเด็กโตขึ้น พัฒนาการทางด้านภาษาของเด็กก็จะเพิ่มมากขึ้น ทั้งในด้านการพูด การเรียนรู้คำศัพท์ เป็นต้น
วิจัยการจัดประสบการการเรียนรู้
วิจัยการจัดประสบการณ์สำหรับเด็กปฐมวัย
มาดูงานวิจัยกันเลยนะ
การศึกษาการจัดประสบการณ์การเรียนรู้เด็กปฐมวัยของครูพี่เลี้ยงศูนย์อบรมเด็กก่อนเกณฑ์ในวัด จังหวัดศรีษะเกษ
Title AlternativeA Study Organization of Pre-School Children Learning Experiences of Caregivers in Monasteriesin Srisaket
มาดูงานวิจัยกันเลยนะ
การศึกษาการจัดประสบการณ์การเรียนรู้เด็กปฐมวัยของครูพี่เลี้ยงศูนย์อบรมเด็กก่อนเกณฑ์ในวัด จังหวัดศรีษะเกษ
Title AlternativeA Study Organization of Pre-School Children Learning Experiences of Caregivers in Monasteriesin Srisaket
ผู่แต่ง : Name: พระมหาพงศ์พิสิฏฐ์ สุเมโธ สมทอง
การศึกษาปฐมวัย
Classification :.DDC: 372.21
Description
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเปรียบเทียบการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ เด็กปฐมวัยของครูพี่เลี้ยงศูนย์อบรมเด็กก่อนเกณฑ์ในวัด จังหวัดศรีสะเกษ จำแนกตามระดับการศึกษา ประสบการณ์การสอน ประสบการณ์การผ่านการอบรมเชิงปฏิบัติการ และอายุ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยคือ ครูพี่เลี้ยงในศูนย์อบรมเด็กก่อนเกณฑ์ในวัด จังหวัดศรีสะเกษ ปีการศึกษา 2548 จำนวน 249 คน ได้มาโดยการสุ่มแบบหลายขั้นตอน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบค่าที (t-test) ผลการศึกษาพบว่า 1. การจัดประสบการณ์การเรียนรู้เด็กปฐมวัยของครูพี่เลี้ยงศูนย์อบรมเด็กก่อนเกณฑ์ ในวัด จังหวัดศรีสะเกษ โดยรวมพบว่า อยู่ในระดับปานกลาง กิจกรรมที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด คือ กิจกรรมกลางแจ้ง ส่วนกิจกรรมเกมการศึกษาอยู่ในอันดับน้อยที่สุด เมื่อพิจารณาเป็นรายกิจกรรมพบว่า 1.1 กิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ พบว่า อยู่ในระดับมาก 4 ข้อ ระดับปานกลาง 4 ข้อ โดยการจัดกิจกรรมให้เด็กได้เคลื่อนไหวร่างกาย ประกอบเพลง หรือคำคล้องจอง อยู่ในอันดับสูงที่สุด ส่วนการจัดกิจกรรมที่เปิดโอกาสให้เด็กคิดหาวิธีเคลื่อนไหวทั้งที่ต้องเคลื่อนที่และไม่ต้องเคลื่อนที่เป็นรายบุคคล เป็นคู่ หรือเป็นกลุ่ม อยู่ในอันดับสุดท้าย 1.2 กิจกรรมสร้างสรรค์ พบว่า อยู่ในระดับมาก 3 ข้อ ระดับปานกลาง 5 ข้อ โดยการจัดกิจกรรมให้เด็กได้วาดภาพสร้างสรรค์ตัวต่อต่างๆ อยู่ในอันดับสูงที่สุด ส่วนการจัดกิจกรรมให้เด็กได้ประดิษฐ์ผลงานทางศิลปะโดยใช้วัสดุที่มีอยู่ในท้องถิ่น อยู่ในอันดับสุดท้าย 1.3 กิจกรรมเสรี พบว่า อยู่ในระดับมาก 2 ข้อ ระดับปานกลาง 5 ข้อ โดยการจัดเวลาให้เด็กได้เล่นกิจกรรมที่ประกอบไปด้วยแท่งไม้ที่มีขนาดและรูปทรงต่างๆ อยู่ในอันดับสูงที่สุด ส่วนการจัดเวลาให้เด็กได้เล่นเกี่ยวกับมุมร้านค้าเพื่อให้เด็กได้เล่นซื้อขายสิ่งของต่างๆ อยู่ในอันดับสุดท้าย 1.4 กิจกรรมเสริมประสบการณ์ พบว่า อยู่ในระดับมาก 2 ข้อ ปานกลาง 4 ข้อ และน้อยหรือไม่ได้จัด 1 ข้อ โดยการจัดกิจกรรมให้เด็กได้แสดงออกเพื่อความสนุกสนานเพลิดเพลิน ด้วยการร้องเพลงเล่นเกมท่องคำคล้องจอง อยู่ในอันดับสูงที่สุด ส่วนการเชิญวิทยากรในท้องถิ่นมาให้ความรู้โดยการเล่านิทานแทนผู้สอน เช่น ผู้สูงอายุ หรือพ่อแม่ ทหาร ตำรวจ หมอ เป็นต้น อยู่ในอันดับสุดท้าย 1.5 กิจกรรมกลางแจ้ง พบว่า อยู่ในระดับมาก 6 ข้อ ปานกลาง 3 ข้อ โดยจัดเวลาให้เด็กได้เล่นอย่างอิสระ ตามจินตนาการและความต้องการของเด็ก อยู่ในอันดับสูงที่สุด ส่วนการจัดกิจกรรมบ้านจำลองสำหรับเด็ก ที่ทำด้วยเศษวัสดุประเภทผ้าใบ กระสอบป่านให้เด็กได้เล่นบทบาทสมมุติตามจินตนาการของเด็ก อยู่ในอันดับสุดท้าย 1.6 กิจกรรมเกมการศึกษา พบว่า อยู่ในระดับปานกลางทุกข้อ โดยการจัดกิจกรรมให้เด็กเกิดความคิดรวบยอดเกี่ยวกับสี เช่น เกมจับคู่ภาพที่มีสีต่างกันอยู่ในอันดับสูงที่สุด ส่วนการจัดกิจกรรมให้เด็กเกิดความคิดรวบยอดเกี่ยวกับความสัมพันธ์ของพื้นที่ เช่น เกมตารางสัมพันธ์ (เมตริกเกม) เกมอุปมาอุปไมย เกมหาความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งของเครื่องใช้ อยู่ในอันดับสุดท้าย 2. ครูพี่เลี้ยงที่มีระดับการศึกษาต่างกัน มีการจัดประสบการณ์การเรียนรู้เด็กปฐมวัย แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 จำนวน 5 กิจกรรมคือ กิจกรรมสร้างสรรค์ กิจกรรมเสรี กิจกรรมเสริมประสบการณ์ กิจกรรมกลางแจ้ง และกิจกรรมเกมการศึกษา โดย ครูพี่เลี้ยงที่มีระดับการศึกษาต่ำกว่าปริญญาตรีจัดประสบการณ์การเรียนรู้เด็กปฐมวัยน้อยกว่า ครูพี่เลี้ยงที่มีระดับการศึกษาระดับปริญญาตรี 3. ครูพี่เลี้ยงที่มีประสบการณ์การสอนต่างกัน มีการจัดประสบการณ์การเรียนรู้เด็กปฐมวัย ไม่แตกต่างกันเมื่อกำหนดนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ยกเว้นบางกิจกรรมคือ กิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยครูพี่เลี้ยงที่มีประสบการณ์การสอนตั้งแต่ 1-5 ปี มีการจัดประสบการณ์การเรียนรู้เด็กปฐมวัยมากกว่า ครูพี่เลี้ยงที่มีประสบการณ์การสอนมากกว่า 5 ปีขึ้นไป 4. ครูพี่เลี้ยงที่มีประสบการณ์การผ่านการอบรมเชิงปฏิบัติการ 1-3 ครั้ง และครูพี่เลี้ยงที่มีประสบการณ์การผ่านการอบรมเชิงปฏิบัติการมากกว่า 3 ครั้งขึ้นไป มีการจัดประสบการณ์การเรียนรู้เด็กปฐมวัยไม่แตกต่างกันเมื่อกำหนดนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 5. ครูพี่เลี้ยงที่มีอายุต่ำกว่า 35 ปี และครูพี่เลี้ยงที่มีอายุมากกว่า 35 ปีขึ้นไป มีการจัดประสบการณ์การเรียนรู้เด็กปฐมวัยไม่แตกต่างกันเมื่อกำหนดนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ยกเว้นบางกิจกรรมคือ กิจกรรมเกมการศึกษา แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยครูพี่เลี้ยงที่มีอายุต่ำกว่า 35 ปี มีการจัดประสบการณ์การเรียนรู้เด็กปฐมวัยมากกว่า ครูพี่เลี้ยง ที่มีอายุ 35 ปีขึ้นไป สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ
Address: มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา
Email: si_num42@hotmail.com
linkset3[12]='สืบค้นต่อในกลุ่ม Contributor'
linkset3[12]+='สืบค้นต่อในทุกเขตข้อมูล'
Contributor
Name: สมบูรณ์ ตันยะ
Name: บูรี แดงสูงเนิน
วันพุธที่ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551
วันอาทิตย์ที่ 27 มกราคม พ.ศ. 2551
พัฒนาการทางสติปัญานั้นเป็นผลของการปฎิสัมพันธ์ ระหว่างบุคคลกับสิ่งแวดล้อม
และผลจากการปฎิสัมพันธ์ทำให้เด็กได้เรียนรู้ตัวตน (Self)ซึ่งเดิมที่เด็กไม่อาจแยกตัวเองจากสิ่งแวดล้อมได้ การพัฒนาของความคิดหรือสติปัญา โดยอาศัยการปฎิสัมพันธ์
กับสิ่งแวดล้อมนั้น ประกอบด้อยกระบวนการ 2 ประการ คือ
1. การดูดซึม (Assimilation)
2. การปรับความแตกต่าง (Accommodation)
วันอังคารที่ 22 มกราคม พ.ศ. 2551
บทกลอนสอนใจ...
เช้าค่ำทำอะไร
อยู่ว่าง
ตำหรับตำราร้าง
แล้วหรือ
เรียลรู้แล้วทุกอย่าง
เพียงไร
ปริญญามิใช่ซื้อ
โดยง่าย หามา
วันหน้าจักลำบาก
บอกไว้ ใส่ตน
หากแม้นมิเอาใจ
ใส่สร้าง
คล้อยเคลื่อนเลื่อนลอยไป
วันนี้
วันพรุ่งคงจักร้าง
ความสุข ความสบาย
เขาหน่ายเขาแหนงแน่
พี่น้อง
เหล่านั้นคงหมั่นปอง
ขับไล่
หงิมหงิมแม้นยิ้มย่อง
รู้แจ้ง เพียงเรา
หนึ่งผู้อยู่หนใด
เมินหน้า หามี
ทุกที่พาทีพ้อง
ขานรับ ขับสู้
เพียงเราทั้งเช้าค่ำ
เรียกหา
คุณงามความดีล้ำ
เขาเชิด ชูเชิญ
ถึงว่าวายชีวา
เขาร่ำ อาลัย
วันพฤหัสบดีที่ 17 มกราคม พ.ศ. 2551
วันอังคารที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2551
การทำ blog 16/ 01 / 51
วันนี้ทำบล็อกสนุกมากเลย และคงจะสนุกต่อไปแน่
ถ้ามีคนเข้ามาทักทายกัน คนที่ยังทำไม่ได้ให้กำลังใจนะ
วันนี้ไปก่อนนะ บ๊าย บาย
ถ้ามีคนเข้ามาทักทายกัน คนที่ยังทำไม่ได้ให้กำลังใจนะ
วันนี้ไปก่อนนะ บ๊าย บาย
วันที่ 15 ม.ค 51ที่ผ่านมาได้เรียนภาษาเกี่วบเด็กปฐมวัย
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)